เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
1.วลาหกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนัก แต่ความโกรธของเขานั้นคงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าว
เปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธอยู่บ่อย ๆ และความโกรธของเขาก็คงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักและความโกรธของเขานั้นก็ไม่คงอยู่
นาน บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย เป็นอย่างนี้แล เรา
กล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่
ในโลก

อาสีวิสสูตรที่ 10 จบ
วลาหกวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมวลาหกสูตร 2. ทุติยวลาหกสูตร
3. กุมภสูตร 4. อุทกรหทสูตร
5. อัมพสูตร 6. (ไม่ปรากฏชื่อสูตร)
7. มูสิกสูตร 8. พลิวัททสูตร
9. รุกขสูตร 10. อาสีวิสสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
2.เกสิวรรค 1.เกสิสูตร

2. เกสิวรรค
หมวดว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า
1. เกสิสูตร
ว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า

[111] ครั้งนั้นแล เกสีสารถีผู้ฝึกม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามเกสีสารถีผู้ฝึก
ม้าดังนี้ว่า
“เกสี ท่านนั่นแล เขารู้กันทั่วไปว่าเป็นสารถีผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกม้าที่ควรฝึกได้
อย่างไร”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกม้าที่ควรฝึก
ด้วยวิธีแบบสุภาพ1บ้าง วิธีแบบรุนแรง2บ้าง วิธีทั้งแบบสุภาพและแบบรุนแรงบ้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “เกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านฝึกไม่ได้
ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพและแบบรุนแรง ท่านจะทำกับ
มันอย่างไร”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของ
ข้าพระองค์ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบ
รุนแรง ข้าพระองค์จะฆ่ามันเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้าพระองค์คิดว่า
ความเสียหายอย่าได้มีแก่สำนักอาจารย์ของเราเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระ
ผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึกอย่างไร”